นิราศนริทร์คำโคลง
แต่งขึ้นโดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กหุ้มแพร
รับราชการวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ นายนรินทรธิเบศร์แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร
โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
นิราศเรื่องนี้นับว่าเป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์
เนื่องจากมีสำนวนโวหารไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์
จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
เหมาะสำหรับการนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธ์โคลงที่มีเนื้อหาเป็นการพรรณนาอารมณ์
ความรัก และธรรมชาติ ที่คงรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี
หนังสือประเภทนิราศ
สันนิษฐานว่ามีมาช้านานและปรากฏในหลายชาติภาษา ด้วยบุคคลที่เป็นกวีนั้น
เมื่อต้องเดินทางย่อมคิดอ่านที่จะพรรณนาถึงความรู้สึกต่างๆ ที่ตนเองมี
หากเป็นการเดินทางชนิดที่ต้องพลัดพรากด้วยแล้ว อารมณ์สะเทือนใจจะยิ่งสูงเป็นพิเศษ
นอกจากนี้การเดินทางยังเป็นแหล่งข้อมูลอย่างดีที่กวีสามารถนำมาร้อยเรียงเล่าเรื่องได้อย่างเพลิดเพลิน
หนังสือที่แต่งตามขนบของนิราศนั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น
แต่งสมัยพระเจ้าปราสาททอง, แต่งในเมฆทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนอกจากนี้ยังมีโคลงทวาทศมาสเป็นต้น
นิราศหลายเรื่องจะตั้งชื่อขึ้นด้วยด้วยคำว่า นิราศ
ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้วในบทความอย่างไรก็ตามยังมีนิราศอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้ตั้งชื่อหรือเรียกชื่อว่านิราศเช่นรำพันพิลาป
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น